This printed article is located at https://investor-th.pf.co.th/cg.html

Corporate Governance

คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวของบริษัทเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้น รวมทั้งดำเนินธุรกิจภายใต้จริยธรรมที่ดี คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นและสังคมโดยรวม บริษัทได้นำแนวทางการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยของสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD (OECD Principles of Corporate Governance) มาใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน

บริษัทมีการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ครอบคลุมสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดขอบของคณะกรรมการ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการบริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งสิทธิพื้นฐานที่ผู้ถือหุ้นได้รับโดยเท่าเทียมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สิทธิในการเข้าร่วมประชุม ผู้ถือหุ้นสิทธิในการมอบชันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน สิทธิในภารออกเสียงลงคะแนนเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการเป็นรายบุคคล สิทธิในการออกเสียงลงคะแนน ในกิจการต่างๆ ที่สำคัญ สิทธิในการรับเงินปันผล สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในภารประชุมผู้ถือหุ้น และสิทธิที่จะได้รับสารสนเทศอย่างเพียงพอและทันเวลา

บริษัทส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกรายเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของบริษัท โดยบริษัทมีการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นปีละครั้ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน นับแต่วันสินสุดรอบบัญชีคณะกรรมการอาจเรียกประชุมวิสามัญในวัน เวลา และสถานที่คณะกรรมการกำหนด

การประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีรายละเอียดวาระการประชุม พร้อมความเห็นของ คณะกรรมการ หนังสือมอบชันทะตามที่กฎหมายกำหนด และรายชื่อของกรรมการอิสระพร้อมทั้งคำแนะนำในการมอบฉันทะ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสือกที่จะมอบชันทะให้เข้าประชุมแทนได้ รวมทั้งแผนที่แสดงสถานที่ประชุมให้ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลทันเวลาและมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาและตัดสินใจลงคะแนนในวันประชุม หรือทำการมอบฉันทะให้กรรมการอิสระเป็นผู้เข้าร่วมประชุมแทน และยังได้ประกาศลงหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วันและก่อนวัน ประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน นอกจากนี้ บริษัทยังได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการจัดประชุมผู้ถือหุ้นและวาระการประชุมบนเว็บไซต์ของ บริษัทก่อนการประชุม 30 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุน สามารถส่งคำถามล่วงหน้าได้ก่อนวันประชุม

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการโดยคำนึง ถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันซึ่ง ได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้

  • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้า โดยบริษัทได้เผยแพร่ข้อมูล ดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัท
  • จัดให้มีกระบวนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน ในการแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามในที่ประชุมโดยจัดสรรเวลาให้อย่างเพียงพอ
  • ดำเนินการให้กรรมการทุกคน ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท และผู้สอบบัญชี เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตอบข้อซักถาม โดยกรรมการและผู้บริหารจะอธิบายและชี้แจงเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา
  • ในกรณีผู้ถือหุ้นไม่ได้เข้าร่วมประชุมตั้งแต่เวลาเริ่มการประชุม สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในวาระที่เหลือได้
  • จัดให้มีการพิจารณาและลงมติเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล และพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ รวมทั้งแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และอนุมัติค่าสอบบัญชี และวาระอื่นตามที่กำหนดในหนังสือเชิญประชุม
  • จัดให้มีบัตรลงคะแนนเสียงสำหรับทุกวาระ
  • เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุมเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับคะแนน และประกาศผลการลงคะแนนของผู้ถือหุ้นที่ลงมติเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง ในแต่ละวาระต่อที่ประชุม
  • มีการบันทึกรายงานการประชุมอย่างครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีสาระสำคัญ ได้แก่ คำถาม คำชี้แจงและความคิดเห็นของที่ประชุม มติที่ประชุมและผลการลงคะแนนเสียงที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง และจัดเก็บไว้ที่บริษัท
  • กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ของกรรมการและผู้บริหารโดยการแจ้งให้ทราบถึงบทบาทภาระหน้าที่ที่ต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งถือหลักทรัพย์ของบริษัท และรับทราบการจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ทุกครั้งที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ปี 2535 ภายใน 3 วันทำการหลังจากวันที่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์
  • กำหนดนโยบายและขั้นตอนการอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยได้ถือปฏิบัติตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นโดยรวมอย่าง เท่าเทียมกัน นอกจากนี้ คณะกรรมการ ตรวจสอบได้เสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบรายการที่เกี่ยวโยงกันและรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ซึ่งได้มีการพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ (ผู้จำหน่ายสินค้าหรือผู้รับเหมา ก่อสร้าง) ภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้พยายามดำเนินนโยบาย เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและเหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ดังนี้ (ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเดิมจะอยู่ในส่วนของความรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibilities : CSR)

ผู้ถือหุ้น

บริษัทจะดูแลรักษาการลงทุนของผู้ถือหุ้นให้ได้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสมและยุติธรรม ตลอดจนมุ่งเน้นปรับปรุงและพัฒนาระบบงานของบริษัทเพื่อความเจริญเติบโตและยั่งยืนของบริษัท รวมถึงบริษัทคำนึงถึงความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างถูกต้องครบด้วนทันเวลา โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การแจ้งข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการแจ้งข้อมูลผ่านทางเว็บไซด์ของบริษัท การประกาศทางหนังสือพิมพ์ การจัดทำ Press Release หรือการจัดส่งจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

พนักงานบริษัท

บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญขององค์กรในการประกอบธุรกิจ จึงได้มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับพนักงานให้เกิดความผูกพัน ความสามัคคี ผ่านกิจกรรมต่างๆ มีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาพนักงาน การบริหารผลตอบแทนและสวัสดิการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบริษัทมีการบริหารค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมโดยได้แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนเพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดการจ่ายผลตอบแทน การพิจารณาการปรับเลื่อนตำแหน่งให้พนักงานอย่างเหมาะสมตามความสามารถของแต่ละบุคคลและเป็นธรรม เป็นไปตามแผนเส้นทางความก้าวหน้าสายอาชีพ (Career path) และให้การดูแลสวัสดิการพนักงานและสิทธิที่ควรพึงได้รับอย่างชัดเจนเพื่อ ให้บุคลากรมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจอันจะส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

ลูกค้า

บริษัทให้ความสำคัญในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและบริการที่มีมาตรฐานเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญ เรื่องจรรยาบรรณในการปฏิบัติ โดยเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า ให้บริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน รวมทั้งการแก้ปัญหาที่ลูกค้าร้องเรียนหรือให้ข้อเสนอแนะต่อบริษัท โดยเร็วที่สุด รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการกับลูกค้าที่ถูกต้องไม่กล่าวอ้างเกินความเป็นจริง และความสะดวกในการติดต่อหรือร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า

คู่แข่ง

บริษัทปฏิบัติตามกรอบกติกาของการแข่งขับโดยยืดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใสภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยสนับสนุนการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและไม่ร่วมทำสัญญาการค้าหรือข้อตกลง ที่ทำให้เกิดผลให้เกิดการแข่งชันที่ไม่เป็นธรรมหรือผูกขาดทางการค้า และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย รวมถึงไม่แสวงหาหรือละเมิดข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่ เหมาะสมเพื่อประโยชน์การดำเนินธุรกิจของบริษัท และไม่ทำลาย ชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางเลื่อมเสียโดยปราศจากข้อมูลความจริง

เจ้าหนี้

บริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไข สัญญา ข้อตกลงที่มีต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน และผู้ถือหุ้นผู้ทุกรายอย่างเคร่งครัด มีการรายงานฐานะทางการเงินของบริษัทแก่เจ้าหนี้ อย่างถูกต้อง ตรงเวลา มีความรับผิดขอบ โปร่งใส ไม่ปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอันจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย บริษัทได้ออกหุ้นผู้ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ปฏิบัติตามนโยบายและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา จะรีบแจ้งหรือเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ผู้จำหน่ายสินค้า

การจัดหาผู้จำหน่ายสินค้า บริษัทจะแจ้งกติกา โอกาส เวลา ข้อมูล และตัวเลขที่ชัดเจนถูกต้อง และถือปฏิบัติต่อผู้จำหน่ายสินค้า ที่เข้าร่วมประกวดราคาอย่างทัดเทียมกัน ดำเนินการจัดหาอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และซื่อสัตย์ และไม่ให้มีอิทธิพลใดๆ ที่ไม่ขอบแทรกแซงได้ รวมถึง การรักษาข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากผู้เสนอราคา หรือผู้ร่วมประกวด ราคาแต่ละรายให้เป็นความลับ ไม่เปิดเผยตัวเลข ราคาหรือข้อมูลทางเทคนิคที่ได้รับจากรายใดรายหนึ่งให้กับรายอื่นเพื่อหวังผลประโยชน์ในระยะสั้น และระมัดระวังผู้ที่ทำตัวเป็นนายหน้าหาข้อมูล ดำเนินการจัดหา โดยมีการดำเนินงานภายใต้ข้อกำหนด ISO 9001 : 2015 เช่น วิธีการคัดเลือกผู้จำหน่ายสินค้า วิธีการสอบราคา วิธีการพิเศษ และการประเมินผู้จำหน่ายสินค้า

ผู้รับเหมา

การจัดหาผู้รับเหมาบริษัทจะดำเนินการคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณภาพผลงานถึงเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด และมีผลงานที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ตลอดจนมีศักยภาพด้านการเงิน ดำเนินการจัดหาอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และซื่อสัตย์ และไม่ให้มีอิทธิพลใดๆ ที่ไม่ชอบแทรกแซงได้ โดยผู้รับเหมาทุกรายต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดหากลางของบริษัท บริษัทจะว่าจ้างผู้รับเหมาในราคาที่เป็นธรรม โดยมีการดำเนินงานภายใต้ข้อกำหนด ISO 9001 : 2015 เช่น วิธีการคัดเลือกผู้รับเหมา วิธีการประกวดราคา การจัดทำราคากลาง และการประ เมินผู้รับเหมา

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส โดยมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมทั้งดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ครบถ้วน และทันเวลา และทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน

สำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญนั้น บริษัทได้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอในงบการเงิน โดยการเปิดเผยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเผยแพร่ผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งงบการเงินดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบ/สอบทานและให้ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบก่อนเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น โดยคณะกรรมการบริษัทได้เปิดเผยรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินในรายงานประจำปีด้วย

ในการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญของบริษัท ทั้งรายงานทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน บริษัทได้เผยแพร่ตามช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และยังได้เผยแพร่ในเว็ปไซด์ของบริษัท เพื่อให้ผู้สนใจทั่วไปได้รับทราบข้อมูลของบริษัทได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ทั่วถึง เท่าเทียม โปร่งใส และทันการณ์ ทั้งนี้ บริษัทได้จัดตั้งฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และสารสนเทศเพี่อทำหน้าที่ติดต่อลื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้อย่างถูกต้อง เท่าเทียม และทันเวลา โดยผู้ลงทุนสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลบริษัทได้ที่ ฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0-2247-7500 โทรสาร 0-2247-7399 อีเมล์ ir@pf.co.th หรือที่ www.pf.co.th/ir

คณะกรรมการบริษัทได้เปิดเผยบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย รวมทั้งจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประขุมไว้ภายใต้หัวข้อ “การจัดการ” และมีการเปิดเผย นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระคับสูงไว้ภายใต้ หัวข้อ “ค่าตอบแทนกรรมการ”

บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน หรือการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน แล้วแต่กรณี รวมทั้งกำหนดนโยบายและวิธีการดูแลไม่ให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน ทั้งในระดับบริหาร และระดับปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ มีการกำหนดการดำเนินการของ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน สำหรับการตรวจสอบภายในได้มีการจัดตั้งสำนักตรวจสอบภายในขึ้นเฉพาะเพื่อรับผิดชอบช่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หน่วยงานตรวจสอบภายในจะรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อ คณะกรรมการตรวจสอบ

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
โครงสร้างคณะกรรมการ

บริษัทกำหนดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนรวมของคณะกรรมการบริษัท แต่ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยปัจจุบันบริษัทมีคณะกรรมการที่มีประสบการณ์และมิความรู้ ความสามารถจำนวน 14 คน ประกอบด้วย

  • กรรมการที่เป็นผู้บริหาร (Executive Director) จำนวน 7 คน
  • กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Director) จำนวน 2 คน
  • กรรมการอิสระ (Independent Director) จำนวน 5 คน

ทั้งนี้ ประธานกรรมการมิได้เป็นบุคคลเดียวกันกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบายกำกับดูแล และการบริหารงานประจำ

คณะกรรมการของบริษัททุกคน มีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็น บริษัทให้ความสำคัญกับความเห็นของคณะกรรมการอิสระมาก ในกรณีที่กรรมการอิสระมีข้อท้วงติงหรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใด จะต้องนำเรื่องกลับไปพิจารณาทบทวนซีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนโปร่งใสในเรื่องนั้นๆ

ปัจจุบัน โครงสร้างการจัดการของบริษัทประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อยที่ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริษัท 4 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริหาร รวมทั้งหมด 4 คณะ

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจและมีความเช้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดขอบเป็นอย่างดี ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริษัทได้มีส่วนร่วมในการกำหนด วิลัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัท เพื่อให้ฝ่ายจัดการตำเนินงานตามนโยบายและแผนที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

คณะกรรมการบริษัทตระหนกถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความโปร่งใส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวช้องทุกฝ่าย จึงได้จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้นโยบายมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แนวทางการดำเนินธุรกิจ และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ยังได้จัดทำคู่มือจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นอกจากนั้น เพื่อป้องกันการทำรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการระหว่างกันคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดเจน รวมทั้ง ได้กำหนดนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ และกระบวนการในการอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้ผู้บริหารพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ได้แก่ หลักเกณฑ์การอนุมัติรายการ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การใช้ข้อมูลภายใน การเปิดเผยข้อมูล อีกทั้งคณะกรรมการบริษัท ยังได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารประเมินความเสี่ยงของกิจการ และกำหนดมาตรการป้องกันและจัดการความเสี่ยงและรายงานให้ทราบเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อการตำเนินงานของบริษัทตามที่ ระบุไว้ในหัวข้อ “ปัจจัยความเสี่ยง”

การประชุมคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีการประชุมทุกไตรมาสหรือมี การประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระการประชุมไว้ชัดเจนและล่วงหน้า เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละไตรมาสและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะร่วมกันพิจารณาเรื่องที่สำคัญ และนำเข้าสู่วาระการประชุม นอกจากนั้น กรรมการแต่ละท่านมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมได้

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทแต่ละครั้ง ประธานกรรมการได้จัดสรรเวลาอย่างเพียงพอและมากพอในการพิจารณาวาระการประชุม และได้มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์ชักษรจัดเก็บรายงาน การประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการพร้อมให้คณะกรรมการ และผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้

การประเมินตนเองของคณะกรรมการ

คณะกรรมการที่เป็นผู้บริหารมีการประเมินผลงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบรายไตรมาสและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท โดยนำเสนอเปรียบเทียบในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ค่าตอบแทน

บริษัทได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ไนการพิจารณา จ่ายค่าตอบแทนสำหรับกรรมการผู้จัดการกรรมการ และที่ปรึกษา ของบริษัท และพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี การปรับเงินเดือนประจำปี รวมทั้งการปรับเงินเดือนระหว่างปี รวมทั้งผลประโยชน์อื่น อันเป็นการตอบแทนการทำงานของฝ่ายบริษัทและพนักงานทุกระดับ โดยคำนึงถึงประสบการณ์ภาระหน้าที่ และขอบเขตความรับผิดชอบ และเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ในระดับและอุตสาหกรรมเดียวกัน (รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการตามข้อ 8.4 ค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหาร)

การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร

บริษัทได้ให้ความสำคัญในการพัฒนากรรมการและผู้บริหารเพื่อการสืบทอดการบริหารในอนาคต บริษัทตระหนักถึงความสำคัญด้านบุคลากรระคับผู้บริหาร โดยจัดอบรมหลักสูตร “การบริหารจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” โดยมีเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วยความรู้ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ กฎหมาย การเงิน บัญชี และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้เรียนรู้เตรียมพร้อมในการเป็นกรรมการในอนาคต และในส่วนของกรรมการบริษัทก็ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทยที่จัดขึ้นสำหรับการพัฒนาและให้การสนับสนุนกรรมการบริษัท เพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีไปปฏิบัติในองค์กร

การกำกับดูแลงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม

บริษัทมีนโยบายส่งตัวแทน เข้าร่วมเป็นกรรมการ และผู้บริหาร เพื่อควบคุมและกำหนดนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ซึ่งได้ตระหนักและให้ความสำคัญในหลักการกำกับการดูแลกิจการที่ดี โดยเน้นความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจ ตามหลักธรรมาภิบาล

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

บริษัทมีนโยบายห้ามกรรมการและผู้บริหารนำข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปเปิดเผยเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้กรรมการผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทที่ได้รับข้อมูลทางการเงินของบริษัทต้องไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดงกล่าว ในระยะเวลา 1 เดือนก่อนเปิดเผยสู่สาธารณะ โดยบริษัทได้แจ้งให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทข้างต้นหลีกเลี่ยงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทก่อนที่งบการเงินจะเปิดเผยสู่สาธารณะ รวมทั้งได้แจ้งให้กรรมการและผู้บริหารเข้าใจถึงภาระหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทตลอดจนการเปลี่ยนแปลง การถือหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 และบทลงโทษตามมาตรา 275 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดบทลงโทษทางวินัยต่อพนักงานของบริษัทที่กระทำ การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือประกาศของบริษัท ซึ่งระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานของพนักงาน

หมวดที่ 6 จรรยาบรรณธุรกิจ

จรรยาบรรณกลุ่ม PF หมายถึง แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้พนักงานทุกคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และถือเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบข้อบังคับพนักงาน

บุคคลที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัท ในเครือ โดยมีคณะกรรมการบริษัท ปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
  1. ศึกษาและทำความเข้าใจจรรยาบรรณ โดยเน้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
  2. เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณนี้ ให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่บริษัทฯ กำหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
  3. แจ้งเบาะแส เมื่อพบการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
  4. ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ กับหน่วยงาน หรือบุคคลที่บริษัทฯได้มอบหมาย
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
  1. บุคคลที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณอาจถูกพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับพนักงานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
  2. การสนับสนุน หรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นผู้ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ หรือไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ มีโทษตามที่ระบุในข้อ 1
การแจ้งเบาะแสและการคุ้มครอง

บริษัทฯ มีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน เมื่อได้รับการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการพบผู้กระทำผิดหรือไม่ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ ซึ่งสามารถแจ้งเบาะแสได้ตามช่องทาง ดังต่อไปนี้

  1. ผู้บังคับบัญชาที่ตนเองไว้วางใจในทุกระดับ
  2. ทางจดหมาย ส่งถึง ผู้บังคับบัญชาทุกระดับหรือ ผู้อำนวยการสายงานทรัพยากรมนุษย์หรือ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายในหรือ เลขานุการบริษัทฯหรือ กรรมการบริษัทฯ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
  3. เว็บไซต์บริษัท www.pf.co.th
  4. กล่องรับความเห็นไว้ในที่เปิดเผยให้ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นร้องเรียนได้สะดวก บริเวณที่ทำงานของสายงานทรัพยากรมนุษย์

ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่สนับสนุนให้พนักงานแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนไปยังสื่อมวลชน หรือสังคมออนไลน์ ซึ่ง เป็นช่องทางนอกเหนือจากที่กำหนดข้างต้น

คำจำกัดความ
กลุ่ม PF หรือ บริษัทฯ หมายถึง บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จํากัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ
บริษัทในเครือ หมายถึง บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด
บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด
บริษัท เรสซิเดนท์ นัมเบอร์ ไนน์ จำกัด
บริษัท เชียงใหม่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
บริษัท รามอินทรา มอลล์ จำกัด
บริษัท เพอร์เฟค สปอร์ตคลับ จำกัด
บริษัท ยูแอนด์ไอ คอนสตรัคชั่น กรุงเทพ จำกัด
บริษัท เพอร์เฟค พรีแฟบ จำกัด
บริษัท ไทย คอนเนคท์ 2019 จำกัด
คู่ค้า หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่กลุ่ม PF จัดซื้อ จัดจ้าง รวมถึงเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นกู้
สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองทางความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดสิทธิ โดยได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย
ทุจริตคอรรัปชั่น หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะในรูปแบบใด โดยให้หมายความรวมถึง การเสนอให้สัญญา มอบให้ ให้คํามั่น เรียกร้อง หรือรับ ทั้งในรูปตัวเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน คู่ค้าธุรกิจ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด ในตําแหน่ง หรือหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่ง หรือหน้าที่อันเป็นการ ให้ได้มาหรือเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือ แนะนําธุรกิจให้กับบริษัทใดโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มา หรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมสําหรับตนเอง หรือผู้อื่น หรือธุรกิจ เว้นแต่ เป็นกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทําได้
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หมายถึง สถานการณ์ที่ตัวบุคลากรได้รับประโยชน์ส่วนตนมาก จนส่งผลต่อการตัดสินใจและปฏิบัติหน้าที่ส่วนรวม
ทรัพย์สินบริษัทฯ หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดที่อยู่ในความครอบครองและดูแลรักษาของบริษัทฯ ทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นๆ
ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญ ของกลุ่ม PF และยังไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ
จรรยาบรรณด้านการประกอบธุรกิจ

ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น

กลุ่ม PF ตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น จึงมุ่งมั่นต่อผู้ถือหุ้นในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริตและจริยธรรมอันดีงาม ด้วยความพยายามที่จะพัฒนากิจการให้มีความเจริญเติบโต มั่นคง ปฏิบัติตามพันธะกิจที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งมีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เท่าเทียม และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย
  2. ปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย ข้อบังคับของบริษัทฯ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนยึดมั่นในแนวปฏิบัติที่ดีของหลักกำกับดูแลกิจการ
  3. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของบริษัทตามความเป็นจริงอย่างเพียงพอและเหมาะสมให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบอย่างเท่าเทียม และตรงตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
  4. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเสนอเพิ่มวาระการประชุมหรือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการล่วงหน้าก่อนการประชุม รวมทั้งส่งคำถามล่วงหน้ามายังบริษัทฯ ได้ ผ่านทางเว็บไซต์ www.pf.co.th/ir หรือทางอีเมล์ ir@pf.co.th และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอเพื่อเรียนเชิญผู้ถือหุ้นที่สนใจสามารถแสดงความจำนงเข้าเยี่ยมชมโครงการของบริษัทฯ ตามความเหมาะสม
  5. บริหารจัดการและปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถตามหลักวิชาชีพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล และมีความสามารถในการแข่งขัน
ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

กลุ่ม PF มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของธุรกิจเพื่อสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้กับลูกค้า บริษัทฯ จึงพยายามแสวงหาวิธีการที่จะสนองความต้องการของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอยู่ตลอดเวลา จัดให้มีระบบการบริหารดูแลลูกค้าภายหลังการขาย เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว ด้วยแนวทางปฏิบัติดังนี้

  1. ให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าในทุกขั้นตอนการพัฒนาโครงการและก่อสร้างของบริษัท มีการควบคุมเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน ตรงตามหรือสูงกว่าความคาดหมายของลูกค้าในราคาที่เป็นธรรม
  2. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ เงื่อนไขของสินค้า หรือบริการ
  3. จัดให้มีมาตรการรักษาความลับของลูกค้า และจะไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้า หรือจากผู้มีอำนาจของบริษัทฯ ก่อน เว้นแต่เป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงหรือดำเนินการในทางกฎหมาย
  4. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารและร้องเรียนอย่างเหมาะสม มีการสนองตอบความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วเพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด ได้ทางช่องทางที่อยู่บริษัทโดยตรง หรือติดต่อ หมายเลข Call Center ของบริษัท โทร. 1375 จันทร์-เสาร์ เวลา 08.00-19.00น. หรือทางเว็บไซต์ www.pf.co.th ของบริษัท
  5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการอยู่อาศัยในโครงการ สอบถามความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนซ่อมแซมแก้ไขงานก่อสร้างให้เรียบร้อยตามเงื่อนไขการรับประกัน
ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า

กลุ่ม PF มีนโยบายที่จะให้การปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างสุจริต โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมาย พันธะสัญญากับคู่ค้า ความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจและผลประโยชน์ร่วมกันกับคู่ค้า จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

  1. คัดเลือกคู่ค้า ภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขเดียวกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกราย ดำเนินการจัดหาอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และซื่อสัตย์ และไม่ให้มีอิทธิพลใดๆ ที่ไม่ชอบแทรกแซงได้ รวมถึงการรักษาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากผู้เสนอราคา หรือผู้เข้าร่วมประกวดราคาแต่ละรายให้เป็นความลับ
  2. ชำระหนี้ตรงต่อเวลาตามเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้กับคู่ค้าอย่างเคร่งครัด เมื่อมีเหตุสำคัญทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขจะแจ้งให้คู่ค้าทราบเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
  3. หลีกเลี่ยงการจัดหาสินค้าหรือบริการจากคู่ค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์
  4. ดูแลและช่วยเหลือคู่ค้าให้สามารถดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับธุรกิจของบริษัท โดยไม่เอาเปรียบทางการค้า
  5. มีช่องทางให้คู่ค้าสามารถร้องเรียนจากการถูกกลั่นแกล้ง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยสามารถร้องเรียนได้ทางช่องทางที่อยู่บริษัทโดยตรง หรือทางเว็บไซต์ www.pf.co.th ของบริษัท
ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งทางการค้า

กลุ่ม PF มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าอย่างเป็นธรรม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

  1. สนับสนุนและส่งเสริมการค้าเสรี เป็นธรรม ไม่ผูกขาด ประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
  2. ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับหรือละเมิดความลับทางการค้าของคู่แข่งด้วยวิธีที่ไม่สุจริตหรือผิดกฎหมายหรือขัดต่อจริยธรรมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  3. ไม่เข้าร่วมในสัญญาทางการค้า ข้อตกลง หรือกระทำการใดโดยนัยที่อาจก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือการผูกขาดทางการค้า
  4. ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวในทางร้าย กลั่นแกล้ง หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงของคู่แข่ง
ความรับผิดชอบต่อพนักงาน

กลุ่ม PF เชื่อมั่นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรอันมีค่าสูงสุดและเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท จึงมุ่งพัฒนา เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศการทำงานที่ดี ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและเพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี ภายในบริษัท จึงมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานของคุณธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

  1. จ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน โดยพิจารณาจากผลการดำเนินการงานของบริษัทฯ ประกอบกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยบริษัทฯจะจัดการ ค่าจ้าง เงินเดือน และผลประโยชน์ให้สามารถจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถไว้กับบริษัทฯ
  2. ให้โอกาสที่เท่าเทียมกันในการแต่งตั้ง โยกย้าย พนักงาน รวมถึงการพิจารณาความดี ความชอบ การให้รางวัลและการลงโทษพนักงานต้องกระทำด้วยความเสมอภาค และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมและตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  3. ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ และเคารพในความเป็นส่วนตัวของพนักงาน ไม่นำข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน อาทิ เงินเดือน ประวัติการรักษาพยาบาล ไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก
  4. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ และให้มีสุขอนามัยที่ดีในสถานที่ทำงาน
  5. มีระเบียบในการร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานทุกลำดับชั้นได้รับความเป็นธรรม รวมถึงจัดให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาในกรณีที่พนักงานกระทำผิดระเบียบ หรือ ถูกร้องเรียน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อพนักงานทุกคนและทุกระดับ
ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และส่วนรวม

กลุ่ม PF ตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งต้องรับผิดชอบช่วยเหลือสังคม และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของชุมชน เพราะเชื่อมั่นว่าความก้าวหน้า การพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน และความอยู่รอดในสังคม นอกจากบริษัทฯ จะต้องเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ มีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพแล้ว บริษัทฯ จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

  1. สำรวจและทำความเข้าใจระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันมิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ กระทบต่อวิถีสังคม หรือชุมชนนั้นๆ
  2. ปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างความตระหนักในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ พนักงานของบริษัทฯ ทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
  3. เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน โดยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสำคัญตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม
การเคารพสิทธิมนุษยชน

กลุ่ม PF ตระหนักถึงความสำคัญในการเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล โดยบริษัทฯ ยึดมั่นที่จะปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเท่าเทียม เป็นธรรม รวมทั้งกำหนดให้การปฏิบัติต่อกันระหว่างพนักงานด้วยกันเป็นไปด้วยความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังให้ความสำคัญในด้านแรงงาน โดยจะปฏิบัติต่อพนักงานตามกฎหมายแรงงานและข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอย่างเป็นธรรม ประกอบด้วยแนวปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ อายุ สีผิว ศาสนา การศึกษา สถานะทางสังคม หรือเรื่องอื่นๆ
  2. ปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในทุกกระบวนการของการจ้างงาน ตั้งแต่ การสรรหา จ่ายค่าตอบแทน การประเมินผลปฏิบัติงาน การฝึกอบรม ความก้าวหน้า อื่นๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติ
การไม่สนับสนุนทุจริตคอร์รัปชั่น

คณะกรรมการบริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และไม่สนับนนุนการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานทุกคนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ จึงเห็นควรกำหนดให้มีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องระมัดระวังในกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูงเช่น การขายและการตลาด การจัดซื้อ งานโครงการลงทุน การทำสัญญา การให้และรับของกำนัล การเลี้ยงรับรอง การให้เงินบริจาคหรือเงินสนับสนุน เป็นต้น
  2. ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่ รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ
  3. ดำเนินการเรื่องการให้หรือรับเงินบริจาค เงินสนับสนุน อย่างโปร่งใส ถูกต้องตามระเบียบบริษัท และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อการติดสินบน
  4. พึงระมัดระวังในการทำธุรกรรมกับบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรใด ๆ ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การคอร์รัปชัน
ของกำนัลและการเลี้ยงรับรอง

การรับหรือให้ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่น รวมถึงการเลี้ยงรับรองต้องเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี มีมูลค่าเหมาะสม และไม่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหรือตัดสินใจที่ไม่ชอบธรรม จึงเห็นควรกำหนดให้มีแนวปฏิบัติดังนี้

  1. ไม่รับหรือให้ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่น การเลี้ยงรับรองที่อาจทำให้เกิดอิทธิพล หรือแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งทำให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม
  2. การจ่ายเงินค่าของทรัพย์สิน บริการ การเลี้ยงรับรอง ต้องมีหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และต้องมีมูลค่าเหมาะสม เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทฯห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในบริษัทฯ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หรือของครอบครัว หรือของบุคคลใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน หรือด้านอื่นใดก็ตาม หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง จึงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องตั้งใจปฏิบัติงานในความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ กรณีที่ ต้องทำงานอื่นนอกเหนือจากงานของบริษัทฯ ต้องได้รับการยินยอมจากผู้บังคับบัญชา และต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่องานในหน้าที่และต่อบริษัทฯ
  2. ห้ามประกอบธุรกิจ หรือมีส่วนร่วมในธุรกิจใดอันเป็น การแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทฯ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม
  3. ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูล หรือสิ่งที่ตนหรือผู้อื่นรู้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบ
  4. ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่รับผิดชอบในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูลภายใน หรือสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในของบริษัทฯ งดการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วง ระยะเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดเผยงบการเงิน หรือข้อมูลภายในอื่นใดแก่สาธารณชน และภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเปิดเผย ข้อมูลดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดกรณีการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในโดยกลุ่มบุคคลดังกล่าว

Please read our General Disclaimer & Warning carefully.
Use of this Website constitutes acceptance of the Terms of Website Use.
Copyright © 2024. ThaiListedCompany.com. All Rights Reserved.